นวัตกรรมกระจกนั้นถูกออกแบบในแบบต่างๆเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมหรือ จุดประสงค์ที่ต่างๆกัน ท่านลูกค้าสามารถสอบถามเรา ในฐานะผู้เชียว ชาญด้าน กระจก เพื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมที่สุด รูปแบบกระจกเบื้องต้น มีดังนี้
กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass) สามารถใช้กับผนังภายใน หรือภายนอก ของอา คารที่มีความสูงไม่มาก เป็นกระจกพื้นฐานที่สามารถนำไปดัดแปลง ในอุตสาหกรรมกระจก ได้หลายหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้คุณสมบัติที่เหมาะสม กับการใช้งานตามต้องการ
เป็นกระจก 2 แผ่นหรือมากกว่าวางคู่ขนานกัน มีระยะห่างพอสมควร ขอบกระจกทุกด้าน มีสารจำพวกก๊าซบรรจุอยู่เพื่อให้กระจกคงรูป และป้องกันอากาศชื้นจากภายนอกที่จะ เข้ามาในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจก มีประสิทธิภาพมากกว่ากระจก ธรรมดา 2 เท่า มีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านกระจก และ ลดระดับเสียงที่ผ่าน ผนังอาคาร เหมาะสำหรับห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอัดเสียง ฯลฯ
เหมาะที่จะใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยเป็นพิเศษ เช่น ผนังภายนอกอาคาร สูง ราวกัน ตก ตู้ปลาขนาดใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะกระจกชนิดนี้เมื่อแตกจะไม่ ร่วงหล่น และไม่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารที่อยู่ด้านล่าง กระจก Laminated สามารถนำไปใช้งานในการ ออกแบบเชิงประหยัด พลังงาน หรือ ป้อง กันการทุบทำลายเพื่อการโจรกรรมได้ดีอีกด้วย เนื่องจากผู้ออกแบบสามารถเลือกชนิดของกระจก และฟิล์ม ที่จะนำมาประกอบกันเพื่อ ให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ นอกจากนี้ฟิล์มโพลีไวนิวบิวทีรัล (PVB)บางชนิดยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวน ช่วยลดความ ร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
กระจกเทมเปอร์นั้นอาจจะดูเหมือนกระจกธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ความแข็ง แกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float Glass) ประมาณ 5 เท่าตัว เราจึงเรียกกระจก ชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกเทมเปอร์ เกิดจากขบวนการแปรรูป กระจกธรรมดา หรือ กระจกโฟล๊ท (Float Glass) เพื่อให้มีความแข็งแกร่ง และทนทาน ไม่แตกหักง่าย ทน ต่ออุณหภูมิสูง-ต่ำ และแรงกระแทก ได้ดีกว่า เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพที่เสี่ยงต่อการ กระทบกระแทก หรือร้อน จัด หนาวจัดเป็นกระจกที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกันถึง 5 เท่า การแตกก็จะแตกเป็น ลักษณะของเม็ดข้าวโพด มีความแหลมคมน้อยกว่ากระจกธรรมดามากโดยทั่วไปนิยมใช้ กระจกนิรภัยเทมเปอร์กับ ชุด บานเปลือย , กระจกห้องอาบน้ำ ฯลฯ
คุณสมบัติเด่นของกระจกชนิดนี้คือสามารถสะท้อนแสงที่จะผ่านเข้าสู่อาคารได้ประมาณ 30% และลดแสงที่เข้ามาให้นุ่มนวลสบายตาขึ้น ส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน อีกทั้ง กระจกชนิดนี้มีสีสันที่สวยงาม และสามารถสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานภายในอา คารได้ ในขณะที่ผู้ใช้อาคารยังคงมองเห็นทัศนียภาพภายนอกได้ดีกว่า กระจกประเภทนี้จึง นิยมใช้กับผนังภายนอกอาคาร โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการออกแบบที่คำนึงถึงการประ หยัดพลังงานและเน้นความเป็น ส่วนตัวไม่โชว์สินค้าแต่โชว์การออกแบบขอลตัวอาคาร การใช้ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มี อุณภูมิภายนอกกับภายในที่แตก ต่างกันมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้กระจกเกิดการแตกร้าวได้